วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเย็บผ้าด้วยมือ

                                                                       การเย็บผ้าด้วยมือ

วัสดุอุปกรณ์             1.ผ้าสี่เหลี่ยม กว้างยาวตามต้องการ
             2.เข็มเย็บผ้า ที่จับถนัดมือ
             3.ด้าย จะเป็นด้ายสำหรับเย็บจักร หรือจะเป็นด้ายปักก็ได้
             4.กรรไกร
                                                                       การเนาผ้า

            จับผ้าด้วยมือซ้าย จับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้ว เส้นเดียว) มือขวา แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า
ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนัก ตามในภาพ แล้วดึงด้ายให้ผ่านไปทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ
            นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักร
ตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ

  ประโยชน์ของการเนาผ้า

          1. เป็นการเย็บผ้าให้ติดกันชั่วคราวไม่ให้ผ้าเคลื่อนที่  
          2. ช่วยในการเย็บตะเข็บถาวรให้ง่ายขึ้นเมื่อเย็บตะเข็บเรียบร้อยแล้วจึงเลาะด้ายที่เนาออก
              3. เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ
          4. เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ 
  การเนาเท่ากัน คือ การเย็บด้วยมือที่ช่วยยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน มีความถี่ห่างของฝีเข็มเสมอกันทั้งด้านบนและด้านล่าง ฝีเข็มห่างประมาณ 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว ซึ่งถ้าเนาห่างกว่านี้จะไม่สามารถบังคับผ้าทั้ง 2 ชิ้นให้อยู่คงที่ได้ การเนาเท่ากันเหมาะสำหรับเนาตะเข็บ ก่อนเย็บเนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย เป็นต้น


          การเนาไม่เท่ากัน เป็นการเนาที่มีความถี่ห่างของฝีเข็มสลับกันฝีเข็มถี่อยู่ด้านบนฝีเข็มห่างอยู่ด้านล่างเป็นการเนาที่ช่วยยึดผ้าให้ติดกันแน่นกว่าการเนาเท่ากันการเนาชนิดนี้ใช้เป็นแนวในการเย็บจักรได้ดีหรือใช้เนาเพื่อลองตัวเสื้อหรือกระโปรงเป็นต้น


                                                 การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง

           เริ่มด้วยการแทงเข็มขึ้นมาตรงจุดที่ 1 แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3
ในเวลาเดียวกันดึงด้ายขึ้นให้ตลอด จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5
ดึงด้ายผ่านตลอด  ทำซ้ำอย่างนี้ ตามในภาพ จะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะทำให้ตะเข็บสวย แข็งแรง
           ถ้าอยากให้เป็นเส้นตรง ควรขีดเส้นเตรียมไว้ตามต้องการ
   การด้นผ้าการด้น เป็นการเย็บด้ยมือที่ใช้แทนการเย็บด้วยจักรมีความทนทานมาก การด้นที่นิยมทั่วไปมี ดังนี้ 



          การด้นตะลุย วิธีทำคล้ายการเนาเป็นการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างถาวรโดยแทงเข็มขึ้นและลงให้ฝีเข็มถี่ที่สุดใช้เย็บทั่วไปทำแนวรูดปะผ้า เป็นต้น 


          การด้นถอยหลัง เป็นการเย็บผ้า2ชนิดให้ติดกันโดยแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลังให้มีเข็มมีความยาวเพียง?ของฝีเข็มแรงแทงเข็มลงแล้วดึงด้ายขึ้นทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดตะเข็บตะเข็บชนิดนี้มีความทนทานมากด้านหน้าจะมีลักษณะฝีเข็มเหมือนการเย็บด้วยจักรส่วนด้านหลังด้ายเย็บซ้อนกันแน่นเหมาะสำหรับเย็บผ้าโดยทั่วไปที่ต้องการความทนทาน
 ประโยชน์ของการด้นตะลุย
1. ใช้ด้นเพื่อเย็บเกล็ดเสื้อ
2. ใช้ด้นเพื่อใช้ในการปะผ้า
3. ใช้ด้นเพื่อเย็บจีบรูด
4. ใช้ด้นเพื่อชุนผ้า
5. ใช้ด้นเพื่อยึดผ้าหลายๆชิ้น
6. ใช้ด้นเพื่อเย็บตะเข็บที่ต้องการให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

                                                                      การสอยผ้า

 การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันได ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอย
หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอยค่ะ ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลยการสอย เป็นการเย็บด้วยมือที่มองเห็นรอยเย็บทางด้านนอกน้อยที่สุดนิยมใช้สอยชายเสื้อชายกระโปรงชายขากางเกงหรือชายผ้าอื่น ๆ ที่ต้องการความสวยงามประณีตการสอยมีหลายชนิดที่นิยมใช้ทั่วไป มีดังนี้

          การสอยซ่อนด้าย เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายเย็บเพียงเล็กน้อย โดยแทงเข็มให้เข็มสอดในพับบทของผ้าให้กว้างช่วงละประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1 – 3 เส้นแล้วสอดเข็มเข้าไปในเส้นทบผ้าแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างทำเช่นนี้เรื่อยไปจนสิ้นสุดแนวที่ต้องการสอย

          การสอยฟันปลา เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายทางด้านผิดมากกว่าทางด้านถูกโดยแทงเข็มสะกิดเนื้อผ้าด้านบนและด้านล่างแล้วดึงเข็มดึงด้ายตามทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดการเย็บการสอยชนิดนี้เป็นการสอยที่ให้ความทนทานนิยมใช้สอยชายกางเกงทั่วไปไว้เพื่อให้เย็บตรงตำแหน่งใช้ด้ายเย็บตรงกลางฐานก้านกระดุมกับตัวเสื้อไม่ดึง

  ประโยชน์ของการสอยซ่อนด้าย
1. ใช้สำหรับสอยชายเสื้อ
2. ใช้สำหรับสอยปลายแขนเสื้อ   
3. ใช้สำหรับสอยชายกระโปรง  
4. ใช้สำหรับสอยชายกางเกง 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น